บทความแนะนำ/แพนิค กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

แพนิค กับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

       โรคแพนิค (Panic Disorder) หรือ "โรคตื่นตระหนก" ไม่ได้มีสาเหตุที่แน่ชัด อาการแพนิคเกิดขึ้นทันทีและค่อยแรงขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น อาการแพนิค (panic attack) มักเป็นที่ระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจ เช่น รู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นเร็วแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือหายใจไม่เต็มอิ่ม นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ เช่น ขาสั่น มือสั่น มือเย็น เวียนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้เป็นโรคแพนิค อาการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นทำให้ผู้ประสบอาการเกิดความกลัวว่าตนเองจะตาย กลัวเป็นโรคหัวใจ อาการแพนิคจะค่อยทุเลาลง อาการมักจะหายภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง หลังจากหายมักรู้สึกอ่อนเพลีย และในช่วงไม่มีอาการมักเกิดความ กังวลว่าจะเป็นอีก โรคแพนิคเป็นโรคที่คนเป็นโรคนี้ไปห้องฉุกเฉินบ่อยที่สุด

สาเหตุของโรคแพนิค

โรคแพนิคเกิดขึ้นได้ในคนทั่ว ไป  เกิดจากได้หลายสาเหตุ  ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

สาเหตุทางกาย 

  • ปัจจัยด้านพันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล มีโอกาสเกิดอาการได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในเครือญาติ
  • ปัจจัยด้านฮอร์โมนในร่างกาย : ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง  อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไป เกิดเป็นโรคแพนิคได้

สาเหตุทางจิตใจ

  • ความเครียด  ความวิตกกังวล พฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้  เช่น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับมือถือเป็นเวลานาน พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย หรือต้องเผชิญกับสภาวะกดดัน เป็นต้น
  • ผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง  เช่น  การสูญเสีย  ผิดหวังรุนแรง

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะไปส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานเหมือนกับว่าร่างกายอยู่ในภาวะอันตรายสุดขีด จนเกิดอาการแพนิคขึ้น พอสมองปรับสมดุลได้อาการก็จะค่อยๆเบาลงจนหายไป และจะเป็นๆหายๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ระยะของอาการแพนิค

1) ระยะเกิดอาการแพนิค

2) ระยะกังวลเกี่ยวกับอาการแพนิค หลังจากเกิดอาการ กลัวจะเกิดซ้ำ ไม่รู้จะเกิดที่ไหน ตอนไหน

3) กลัวจะเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งช่วงแรกแพทย์มักจะตรวจไม่พบ และบอกว่าไม่เป็นอะไร แต่ผู้เป็นโรคแพนิคมักจะไม่เชื่อ มักไปตรวจหลายที่ หลายๆครั้ง เพื่อยืนยันให้แน่ใจ

4) เริ่มกลัวและหลีกเลี่ยงต่อสถานที่หรือสถานการณ์ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกว่าอาจทำให้เกิดอาการแพนิค เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด หรือการขับรถ

5) มีอาการแพนิคมากขึ้นจนไม่กล้าไปไหนคนเดียว เพราะกลัวว่าเกิดอาการแล้วจะไม่มีใครช่วยทัน

6) ระยะเกิดอารมณ์เศร้า อาจถึงขั้นโรคซึมเศร้า เป็นผลจากมีอาการแพนิคมานาน บางครั้งอาจถึงขั้นทำร้ายตัวเองได้

วิธีการรักษาแพนิค

- การฝึกลมหายใจ ทำสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ รู้สึกผ่อนคลาย ข้อเสียคือ มีเพียง 5% เท่านั้นที่หายอาการแพนิค อีก 95% ยังกลับมาเป็นโรคแพนิค

- การรักษาโดยใช้ยาซึมเศร้าคู่กับยาคลายวิตกกังวล หรือ ยาคลายเครียด แต่มักมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ปากแห้ง กระวนกระวาย นอนไม่หลับ

- การรักษาด้วยการใช้สมุนไพร ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย  ล่าสุดมีรายงานการวิจัยตีพิมพ์นิตยสารด้านสุขภาพในอเมริกา พบว่าคนอเมริกาเป็นโรคแพนิคมากถึง 20-30% ของจำนวนประชากร และพบว่าการรักษาอาการแพนิคโดยสมุนไพร ช่วยปรับสมดุลของสารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาท และสารพวก GABA ที่ช่วยให้การทำงานของสมองให้รู้สึกผ่อนคลาย และสมุนไพรจำพวกที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเห็นผลได้ดีไม่แพ้ยาเคมี

การรักษาแพนิคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

ทางการแพทย์แผนจีนจะไม่มีชื่อโรคแพนิคโดยตรง แต่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคทางระบบประสาทและอารมณ์ โดยหลักการรักษานั้นจะเน้นการหาสาเหตุของโรคว่าเกิดจากอวัยวะไหนที่ทำงานเสียสมดุลไป เพื่อฟื้นฟูอวัยวะนั้น

1 รักษาจากหัวใจ : 从心论治 "
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีแนวคิดว่า หัวใจเป็นจ้าวแห่งอวัยวะภายใน เป็นที่อยู่ของจิตใจ พื้นฐานของโรควิตกกังวลอยู่ที่หัวใจ หัวใจควบคุมจิตใจ หน้าที่การทำงานของเสินหัวใจต้องอาศัยเลือดของหัวใจหล่อเลี้ยงและชี่ของหัวใจในการผลักดัน(สูบฉีด) หาก เลือดและชี่หัวใจไม่พอทำให้จิตใจไม่กระปรี้กระเปร่า เสินไม่อยู่ในหัวใจจนทำให้เกิดโรคแพนิคขึ้นมา
        2 รักษาจากไต (从肾论治)
ตำแหน่งพยาธิสภาพของโรควิตกกังวลอยู่ที่สมอง แต่ไตและสมองมีการเชื่อมสัมพันธ์การอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ ไตเก็บกักสารจิง (สารจำเป็นของร่างกาย) สารจิงสร้างไขกระดูก ไขกระดูกเติมเต็มสมอง สมองเป็นทะเลแห่งไขกระดูก เพราะฉะนั้นหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป หรือการทำงานของไตผิดปกติจนทำให้มีสารจิงไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดโรคแพนิคหรือโรคทางอารมณ์อื่นๆ ขึ้นได้เช่นกัน โรคแพนิกเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้…บางคนบอกว่าเป็นโรคที่น่ารำคาญมากทีเดียว…แต่ถ้าดูแลรักษาถูกต้องแล้ว…ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเช่นเดียวกับผู้อื่นในสังคม

GUITANG 龟堂
CHINESE MEDICINE & WELLNESS CLINIC
.
เพียบพร้อมด้วยบุคคลากรทางการแพทย์
แพทย์จีนปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
เปิดให้บริการรักษาด้านการแพทย์แผนจีนอย่างเต็มรูปแบบ
.
สาขาพระราม3
โทรศัพท์ : 061-9261415
เปิดบริการทุกวัน 11.00-19.00 หยุดทุกวันพุธ
LINE@: https://page.line.me/239icbzc
.
สาขาสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : 062-6322891​
เปิดบริการทุกวัน 09.30-18.30 หยุดทุกวันอังคาร
LINE@: https://lin.ee/D8SkDwv
.
Facebook: https://www.facebook.com/guitang.tcmwellness
เว็บไซต์ : www.guitangwellness.com