Q&Aสมุนไพรจีนส่งผลต่อตับไตจริงหรือ?? Q:ในปัจจุบันยังมีผู้คนจำนวนมากที่เข้าใจผิดว่าการทานสมุนไพรจีนจะทำให้ค่าตับค่าไตสูงขึ้น แต่แล้วทำไมถึงมีคนบอกว่าหายจากโรคก็เพราะสมุนไพรจีนนี่แหละ ความจริงคืออะไรกันแน่? A:ยาสมุนไพรจีนนั้นมีหลายหลายร้อยตัวมาก แต่ละตัวมีสรรพคุณการรักษาที่แตกต่างกัน ยิ่งกว่านั้นฤทธิ์ในการเข้าสู่อวัยวะก็ต่างกันด้วย สมุนไพรตัวเดียวจะมีสารออกฤทธิ์มากมายหลายตัว อาจมีตัวหลักตัวเดียว แต่มีตัวอื่นไปช่วยเสริมฤทธิ์ในการควบคุมพิษในตัว การใช้ยาจีนในการรักษาโรคจึงต้องจ่ายโดยแพทย์แผนจีนเท่านั้น เพราะจะต้องเลือกให้ถูกกับภาวะของโรคและถูกกับคนไข้ด้วย ในปัจจุบันมีวิจัยมากมายที่ออกมาบอกว่ายาจีนนั้นมีประโยชน์ในการรักษาโรคมากมาย จึงเป็นคำตอบได้ว่ายาจีนนั้นไม่ได้มีผลเสียต่อตับไตในทางกลับกันยังช่วยบำรุงและรักษาโรคได้ด้วย แต่ทั้งนี้ต้องใช้ผ่านคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีนเท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดรายละเอียดในการใช้ยานั้นมีอยู่มาก หากเลือกใช้ยาสมุนไพรจีนที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายได้เช่นกัน Q: สมุนไพรจีนมีสเตียรอยด์จริงหรือ?? A:ต้องอธิบายก่อนว่าสเตียรอยด์นั้นไม่ใช่วายร้ายแบบที่ทุกคนคิด สเตียรอยด์เป็นกลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดต่างๆ หรือปรับความเครียด ปรับความอ่อนเพลียไม่มีแรงให้เป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติ และอื่นๆอีกมากมายอย่างครอบจักรวาล แต่เนื่องจากสเตียรอยด์มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ดังนั้นทางการแพทย์จึงมักจะเลือกใช้สเตียรอยด์เป็นลำดับท้ายๆ ในกรณีที่ไม่มียาที่รักษาอาการของโรคนั้นแล้ว หรืออาจใช้เพื่อการรักษาช่วงต้นที่เร่งด่วน เมื่อร่างกายได้รับสารสเตียรอยด์เป็นเวลานานร่างกายจะหยุดสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติที่เคยสร้างเอง ดังนั้นเมื่อผู้ใช้หยุดใช้ยานี้อย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์อย่างฉับพลัน มาต่อกันที่คำถามว่าแล้วยาจีนมีสเตียรอยด์มั้ย ยาสมุนไพรหลายชนิดมีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหนึ่ง แต่มีปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับสเตียรอยด์สังเคราะห์ เช่น เขากวางอ่อน มีสารออกฤทธิ์คล้ายเทสโตสเตอโรนที่สร้างจากต่อมอัณฑะ มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ช่วยการทำงานของหัวใจ ทำให้แผลหายเร็ว แพทย์จีนเองก็ต้องมีวิธีการใช้ยาให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด ในทางปฏิบัติแม้ว่าตัวยาจะมีสารออกฤทธิ์เด่นตัวเดียว แต่เวลาใช้ในผู้ป่วยมักจะต้องใช้สมุนไพรตัวอื่นประกอบกันเป็นตำรับยา เพื่อเสริมฤทธิ์ ลดผลข้างเคียงทำลายพิษ เพื่อผลการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละรายหรือย่างกระบวนการเตรียมยาสมุนไพรจีนเพื่อการใช้ ยังมีวิธีการทำลายพิษ ลดพิษของยาสมุนไพร หรือทำให้ฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ลดลง เสริมฤทธิ์ที่ต้องการ มีการเตรียมยาเพื่อให้ยาเข้าสู่เป้าหมายที่ต้องการ อาหารและพืชโดยธรรมชาติจำนวนมากก็มีสารโครงสร้างคล้ายสเตียรอยด์อยู่แล้ว แต่การกินในชีวิตประจำวันไม่เกิดปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ข้าวเจ้า ก็พบว่ามีสารคล้ายสเตียรอยด์ ถ้าต้องการให้ออกฤทธิ์เหมือนสเตียรอยด์ต้องสกัดเฉพาะ และใช้จำนวนมหาศาลซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้หมอขอแนะนำว่าไม่ว่าอะไรที่มากเกินไปมักจะส่งผลไม่ดีต่อร่างกายเสมอ ต่อให้ยาอะไรที่ใครว่าบำรุงร่างกายดีมากเท่าไหร่หากเรารับในปริมาณมากเกินไปก็จะเกิดผลเสียตามมาได้ทั้งนั้น
เบื่อแล้วทานยาอยากนอนหลับได้เอง หากคุณนอนไม่หลับแล้วใช้ยานอนหลับเป็นตัวช่วยคุณจะได้ของแถมตามมาดังนี้ ⁃ ตื่นมาไม่สดชื่น ⁃ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ⁃ คลื่นไส้ อาเจียน (ในบางราย) ⁃ ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง เมื่ออยู่ภายใต้ฤทธิ์ของยา ⁃ เสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ ⁃ ยานอนหลับบางชนิดมีผลต่อเพศชาย โดยอาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆฝังเข็มช่วยได้ ในปัจจุบันโรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานและผู้สูง อายุ ซึ่งอาการของโรคนอนไม่หลับ คือไม่สามารถนอนหลับได้เป็นปกติ ระยะเวลาในการนอนหลับ น้อยกว่าปกติ (โดยทั่วไปน้อยกว่า 4-6 ชั่วโมง) มีอาการหลับยาก (ใช้เวลาเข้านอนนานเกินกว่า 30 นาที) หลับแล้วตื่นง่าย หรือหลับๆ ตื่นๆ ฝันมาก ตื่นขึ้นมาแล้วหลับยาก (ตื่นกลางดึกมากกว่า 2 ครั้ง หรือ ตื่นก่อนฟ้าสางแล้วนอนต่อไม่ได้) โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะช่วงเวลาของการนอนไม่หลับ 1.Initial insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับภาวะดังกล่าว อาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล 2.Maintinance insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยภาวะ ดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น 3.Terminal insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึม เศร้า นอกจากนี้ถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคจะแบ่งได้สองกลุ่มคือ - Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักเป็นฉับพลันตามหลัง สถานการณ์ เช่นความเครียด, การเจ็บป่วย, ปัญหาวิตกกังวล, สถานที่นอนหรือสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยเมื่อปัจจัยที่กล่าวไปหายไปอาการนอนไม่หลับก็มักกลับมาปกติ - Chronic insomnia (โรคการนอนไม่หลับเรื้อรัง) ผู้ป่วยจะมีภาวะนอนไม่หลับอย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์และเป็นมาอย่างน้อย 3 เดือน นอกจากนี้ปัญหาการนอนไม่หลับอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความทรงจำ (Memory Problems) ภาวะซึมเศร้า (Depression) อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย (Irritability) ภูมิคุ้มกันต่ำ อีกทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยง ในการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย การรักษาโรคนอนไม่หลับ มีแนวทางในการรักษา 2 วิธี ได้แก่ การดูแลรักษาโดยแพทย์หรือการใช้ยา และการดูแลรักษาโดยไม่ ต้องใช้ยา 1. การรักษาโดยการใช้ยาทางแผนปัจจุบัน จะสั่งยาโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน หรือยารักษาอาการทางจิต ช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท แม้ยานอนหลับจะช่วยให้เรานอนหลับง่ายขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายานอนหลับมีผลข้างเคียงที่ไม่พึง ประสงค์อยู่มากเช่นกัน และถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จึงทำผู้ป่วยต้องใช้ยาต่อเนื่อง 2.การรักษาโดยแพทย์ทางเลือก แพทย์แผนจีนกับการฝังเข็มโรคนอนไม่หลับเป็นเป็นการนำเอาศาสตร์โบราณของชาวจีนมาผสานเข้า กับความรู้ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยมีผลทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยรองรับและ เป็นที่ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ว่าการฝังเข็มจะช่วย ให้อาการป่วย หรือโรคที่เป็นอยู่จะค่อยๆ ดีขึ้น เนื่องจากโรคนอนไม่หลับมีอาการและสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป การรักษาทางแพทย์แผนจีนนั้นจะ รักษาตามอาการแต่ละบุคคล เป็นการปรับสมดุลฮอร์โมนและสารสื่อประสาทต่างๆในร่างกายให้กลับ เข้าสู่สมดุล ซึ่งสมดุลในร่างกายแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไปจึงเป็นเสน่ห์ของแพทย์แผนจีนที่เรา จะรักษาถึงแก่นแท้ของปัญหา ไม่ใช่แค่การแก้ไขที่ปลายเหตุ จึงเป็นการรักษาที่ยั่งยืนและ ปลอดภัย ในส่วนการรักษาด้วยการฝังเข็มจะเลือกจุดที่สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยที่นอนไม่หลับ หลัง จากฝังเข็มคาเข็มไว้ 20-40 นาที หลังจากนั้นจึงถอนเข็ม ให้ผู้ป่วยทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ ละ 2-3 ครั้ง ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะของโรคนอนไม่หลับ นอกจากนั้นแล้วเรายังเราต้องประเมินคนไข้ด้วยว่ามีความเครียดสะสมหรือเปล่า เนื่องจาก ความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อยึด หด เกร็ง โดยเฉพาะการเกร็งบริเวณช่วงอก ทั้งจากความเครียด และชีวิตประจำวันที่ทำงานในท่าเดิมๆ หรือออกกำลังกายมากเกินไป หากเจอคนไข้ที่หายใจสั้น จะฝัง เข็มบริเวณอกเพื่อขยายช่วงนั้น ทำให้หายใจสะดวกและลึกขึ้นได้อีกด้วย นอกจากการฝังเข็มรักษา แล้วยังมียาจีนที่ให้ผลการรักษาโรคนอนไม่หลับได้ดีเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วแพทย์แผนจีนจะแนะนำให้ รักษาคู่กันทั้งการทานยาและฝังเข็มเพื่อประสิทธิภาพที่เร็วขึ้น โดยการทานยาจีนนั้นต้องได้รับการการ วินิจฉัยโรคจากทางแพทย์แผนจีนก่อน เนื่องจากตำหรับยาของแต่ละบุคคลนั้นก็จะแตกต่างกันไปอีก ด้วย
ซึมเศร้าไม่น่ากลัวรักษาหายได้ โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองที่ส่ง ผลกระทบได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้รู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไม่มีความสุข อยากร้องไห้ นอนหลับ ยาก และปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง จนส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต ทั้งการเรียนและการ ทำงาน • อารมณ์เกิดโรคในทางแพทย์แผนจีน อารมณ์เปลี่ยนแปลงมาจากลมปราณของอวัยวะตัน เช่น - ความยินดีตกใจสร้างจากลมปราณหัวใจ - ความโกรธสร้างจากลมปราณตับ - ความครุ่นคิดสร้างจากลมปราณม้าม - ความเศร้าโศกวิตกกังวลสร้างจากลมปราณปอด - ความกลัวสร้างจากลมปราณไต ตามทฤษฎีแพทย์จีนมองสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้าว่าเกิดจาก ‘การไหลเวียนที่ติดขัดของ ลมปราณในอวัยวะ ตับ’ โดยสิ่งที่ทำให้ลมปราณติดขัดมีมากมาย เช่น อารมณ์ อาหาร ความเสื่อม ของร่างกาย เป็นต้น • แพทย์แผนจีนรักษาอย่างไร?? แพทย์แผนจีนจะใช้ยาจีนร่วมกับการฝังเข็มในการรักษาโดยมุ่งเน้นในการปรับสมดุลทาง กายภาพ เนื่องจากอวัยวะภายในทุกส่วนในร่างกายนั้นมีความสัมพันธ์กันหมด หากเราระบายอาการ แกร่งหรือเสริมอาการพร่องเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งก็อาจทำให้ร่างกายเสียสมดุลได้ • ความแตกต่างของแพทย์จีนกับแพทย์ปัจจุบันในการรักษาโรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่การรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันจะรักษาด้วยการจ่ายยาประเภทกดประสาท ช่วยให้ คนไข้ผ่อนคลาย และระงับอารมณ์ หากมีอาการนอนไม่หลับก็จะจ่ายยานอนหลับเพิ่มให้ด้วยจึง เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เป็นเพียงการระงับอาการไว้แต่ไม่ได้รักษาถึงสาเหตุที่แท้จริง สำหรับแพทย์แผนจีนจะมองคนไข้โดยพิจารณาจากองค์รวมทั้งหมด ฝังเข็มเพื่อกระตุ้นระบบประสาท และให้ยาจีนแบบรายสัปดาห์เพื่อปรับสมดุลร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยแต่ละท่านก็จะได้รับการจ่ายยาตำหรับที่ แตกต่างกันออกไป เนื่องจากสาเหตุและกลไกการเกิดโรคของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน รวมถึงยา แต่ละรอบที่คนไข้จะได้รับก็แตกต่างกันกล่าวคือหากทานยาไปแล้วดีขึ้นภาวะของโรคก็จะเปลี่ยนไปจึง ต้องมีการเพิ่มลดยาในตำหรับด้วย หรือในทางกลับกันหากคนไข้ไปเจอปัจจัยอื่นที่ทำให้โรครุนแรง มากขึ้น แพทย์ก็จะต้องาปรับเปลี่ยนตัวยาให้เหมาะสมอีกด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนสองคนเป็น โรคซึมเศร้าเหมือนกันแต่ทานยาตำหรับเดียวกันไม่ได้ • ระยะเวลาในการรักษา เนื่องจากเรามุ่งเน้นในการปรับสมดุลฟื้นฟูอวัยวะที่อ่อนแอหรือเสียหายไป จึงต้องใช้เวลาใน การรักษาประมาณ3-6เดือน โดยระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาในคนไข้แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความเรื้อรังและสภาพร่างกายแต่กำเนิด รวมถึงสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยอีกด้วย
ยาจีนรักษาโรคซึมเศร้าได้จริงหรือ โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางคลินิกที่พบได้ทั่วไป ตามสถิติของ WHO มีผู้ป่วยโรคซึม เศร้าประมาณ 350 ล้านคนทั่วโลก และอุบัติการณ์ของโรคซึมเศร้าก็เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันการวิจัยเกี่ยวกับพยาธิกำเนิดและปัจจัยควบคุมโรคซึมเศร้ายังไม่ชัดเจนพอใน แง่การรักษา และยาต้านอาการซึมเศร้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ความจริงแล้วโรคซึมเศร้าได้ปรากฏอยู่ในตำราแพทย์แผนจีนมานาน กว่า5,000ปีแล้วแต่ผู้คนทั่วไปอาจไม่ทราบว่าแพทย์แผนจีนสามารถรักษาได้และยาจีน ยังให้ประสิทธิผลที่ดีมากด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การแพทย์แผนจีนประสบความสำเร็จในการรักษาภาวะซึม เศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับความสนใจจากแพทย์แผนปัจจุบันและผู้ป่วยมาก ขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีวิจัยมากมายเกี่ยวกับยาจีนที่พิสูจน์แล้วว่ายาจีนนั้นสามารถรักษาโรค ซึมเศร้าได้จริงยกตัวอย่างตำหรับยาง่ายๆที่แพทย์แผนจีนทุกคนเคยได้จ่ายให้กับคนไข้ หรือใช้เองก็ตามอย่างตำหรับยาที่มีชื่อว่า “เซียวเหยาส่าน(逍遥散)”ถือว่าเป็นตำหรับ พื้นฐานง่ายๆไว้ใช้กับบุคคลที่เริ่มมีความเครียดรวมถึงประจำเดือนมาไม่ปกติในผู้หญิง ก็ใช้ตำหรับนี้เช่นกัน จากงานวิจัยของ曹国平 Cao Guoping ที่ได้นำหนูมาทดลองปรับสภาพ แวดล้อมจำลองภาวะซึมเศร้าโดยถูกทําลาย glucocorticoid receptor ท่ีสมองส่วน หน้าซึ่งเปรียบเทียบได้กับคนที่มีความเครียดมาอย่าง ยาวนาน( chronicunpredictable stress)พบว่าตำหรับยาเซียวเหยาส่านสามารถ ปรับปรุงพฤติกรรมหนูที่ผิดปกติไปได้ โดยมีผลในการเพิ่มตัวรับกลูโคคอร์ติคอยด์ ลด การสะสมของคราบโปรตีนที่ฮิปโปแคมปัสซึ่งเป็นสาเหตุของอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย 于鲁璐Yu lulu นักวิจัยและรักษาโรคทางสุขภาพจิตได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับยาจีน ที่มีชื่อว่า ตันเซิน 丹参 และวิเคราะห์สารสำคัญออกมาได้ว่าตันเซิน 丹参สามารถ ปรับปรุงการกระตุ้นการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติ ของglucocorticoidและมีผลคล้ายกับFluoxetine ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวยาสำคัญในกลุ่ม ยา SSRIs (Selective serotonin reuptake inhibitor) ที่เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรค ซึมเศร้า มีกลไกการออกฤทธิ์โดยช่วยเพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองและนักวิจัย石翠格Shi Cuigeยังค้นพบอีกว่าตันเซินนั้นมีฤทธิ์ เทียบเท่ากับยาamitriptyline ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อ ประสาทNorepinephrine(NE)และSerotonin(5-HT)ที่มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึก ผ่อนคลาย และลดภาวะซึมเศร้า จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆได้เข้ามาพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนแล้วว่ายาจีนที่ ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีมานานแล้วนั้นสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้จริง และนี่ เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของงานวิจัยเท่านั้น แต่ยังมีตำหรับยาจีนและยาจีนอีก มากมายที่มีประโยชน์และรักษาโรคได้จริงอีกทั้งยังช่วยลดผลข้างเคียงของยาแผน ปัจจุบันได้อีกด้วย โดยผู้ป่วยสามาถเลือกรับการรักษาควบคู่ไปทั้งการรักษาทางแผน ปัจจุบันและแผนจีนได้เลย
ภาวะซึมเศร้าจะมีอาการหลัก คือ มีอารมณ์ซึมเเละเศร้าเกือบทั้งวัน ขาดความสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว รู้สึกเบื่อหน่าย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลียง่าย โดยในตำราแพทย์แผนจีนได้อธิบายเกี่ยวกับอารมณ์ต่างๆ ที่สามารถก่อโรคได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการครุ่นคิด คิดมาก เครียดจนไม่เป็นอันกินอันนอน ซึ่งจะส่งผลต่อม้าม ทำให้ไม่อยากอาหาร หรืออีกหนึ่งอารมณ์คือ เศร้าหรือกังวล จะส่งผลต่อการไหลเวียนของชี่ในร่างกายโดยเฉพาะพลังชี่ของตับติดขัด ทำให้จิตใจหดหู่ หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม และรู้สึกไม่มีความสุขในชีวิต
โรคแพนิค (Panic Disorder) หรือ "โรคตื่นตระหนก" ไม่ได้มีสาเหตุที่แน่ชัด อาการแพนิคเกิดขึ้นทันทีและค่อยแรงขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น อาการแพนิค (panic attack) มักเป็นที่ระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจ เช่น รู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นเร็วแรง อึดอัด แน่นหน้าอก
ถ้าพูดถึงเรื่องซึมเศร้าส่วนใหญ่มักจะนึกกันว่าเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวังหรือสูญเสียมากกว่าที่จะเป็นโรคๆ หนึ่งแต่อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ถ้ามีอารมณ์เศร้าเป็นเวลานานโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ก็จะมีอาการต่างๆ ติดตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น การนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ
โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder (OCD) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลใจ และมีการตอบสนองต่อความคิด ด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวผู้ป่วยเองก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้