บทความน่ารู้/หมวดบทความสุขภาพและการรักษา


จุดฝังเข็มรักษาโรคทางอารมณ์
จุดฝังเข็มรักษาโรคทางอารมณ์

โรคไบโพลาร์ VS ซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร
โรคไบโพลาร์ VS ซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร

เมื่อคนรอบข้างเป็นแพนิกต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
เมื่อคนรอบข้างเป็นแพนิกต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

ฝังเข็มรักษาอาการ “ออฟฟิศซินโดรม ”
ฝังเข็มรักษาอาการ “ออฟฟิศซินโดรม ”

บอกลาออฟฟิตซินโดรม (Office Syndrome) ด้วย 3 ขั้นตอน
บอกลาออฟฟิตซินโดรม (Office Syndrome) ด้วย 3 ขั้นตอน

ฝังเข็มรักษาไหล่ติดเรื้อรัง (Frozen Shoulder)
ฝังเข็มรักษาไหล่ติดเรื้อรัง (Frozen Shoulder)

โรคข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) เกิดจากอะไรได้บ้าง
โรคข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) เกิดจากอะไรได้บ้าง

แพทย์แผนจีนกับภาวะ Long Covid
แพทย์แผนจีนกับภาวะ Long Covid

ปวดเอวร้าวลงขา รักษาอย่างไร
ปวดเอวร้าวลงขา รักษาอย่างไร

อาการนิ้วล็อคเรื้อรัง รักษาได้ไหม
อาการนิ้วล็อคเรื้อรัง รักษาได้ไหม

การรักษาอาการนิ้วล็อค (Trigger Finger)
การรักษาอาการนิ้วล็อค (Trigger Finger)

หมอนรองกระดูกต้นคอกดทับเส้นประสาท จำเป็นต้องผ่าตัดไหม
หมอนรองกระดูกต้นคอกดทับเส้นประสาท จำเป็นต้องผ่าตัดไหม

สมุนไพรจีนส่งผลต่อตับไตจริงหรือ
สมุนไพรจีนส่งผลต่อตับไตจริงหรือ

Q&Aสมุนไพรจีนส่งผลต่อตับไตจริงหรือ??  Q:ในปัจจุบันยังมีผู้คนจำนวนมากที่เข้าใจผิดว่าการทานสมุนไพรจีนจะทำให้ค่าตับค่าไตสูงขึ้น แต่แล้วทำไมถึงมีคนบอกว่าหายจากโรคก็เพราะสมุนไพรจีนนี่แหละ ความจริงคืออะไรกันแน่? A:ยาสมุนไพรจีนนั้นมีหลายหลายร้อยตัวมาก แต่ละตัวมีสรรพคุณการรักษาที่แตกต่างกัน ยิ่งกว่านั้นฤทธิ์ในการเข้าสู่อวัยวะก็ต่างกันด้วย สมุนไพรตัวเดียวจะมีสารออกฤทธิ์มากมายหลายตัว อาจมีตัวหลักตัวเดียว แต่มีตัวอื่นไปช่วยเสริมฤทธิ์ในการควบคุมพิษในตัว   การใช้ยาจีนในการรักษาโรคจึงต้องจ่ายโดยแพทย์แผนจีนเท่านั้น เพราะจะต้องเลือกให้ถูกกับภาวะของโรคและถูกกับคนไข้ด้วย ในปัจจุบันมีวิจัยมากมายที่ออกมาบอกว่ายาจีนนั้นมีประโยชน์ในการรักษาโรคมากมาย จึงเป็นคำตอบได้ว่ายาจีนนั้นไม่ได้มีผลเสียต่อตับไตในทางกลับกันยังช่วยบำรุงและรักษาโรคได้ด้วย แต่ทั้งนี้ต้องใช้ผ่านคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีนเท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดรายละเอียดในการใช้ยานั้นมีอยู่มาก หากเลือกใช้ยาสมุนไพรจีนที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายได้เช่นกัน  Q: สมุนไพรจีนมีสเตียรอยด์จริงหรือ?? A:ต้องอธิบายก่อนว่าสเตียรอยด์นั้นไม่ใช่วายร้ายแบบที่ทุกคนคิด สเตียรอยด์เป็นกลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดต่างๆ หรือปรับความเครียด ปรับความอ่อนเพลียไม่มีแรงให้เป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติ และอื่นๆอีกมากมายอย่างครอบจักรวาล แต่เนื่องจากสเตียรอยด์มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ดังนั้นทางการแพทย์จึงมักจะเลือกใช้สเตียรอยด์เป็นลำดับท้ายๆ ในกรณีที่ไม่มียาที่รักษาอาการของโรคนั้นแล้ว หรืออาจใช้เพื่อการรักษาช่วงต้นที่เร่งด่วน เมื่อร่างกายได้รับสารสเตียรอยด์เป็นเวลานานร่างกายจะหยุดสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติที่เคยสร้างเอง ดังนั้นเมื่อผู้ใช้หยุดใช้ยานี้อย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์อย่างฉับพลัน มาต่อกันที่คำถามว่าแล้วยาจีนมีสเตียรอยด์มั้ย ยาสมุนไพรหลายชนิดมีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหนึ่ง แต่มีปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับสเตียรอยด์สังเคราะห์ เช่น เขากวางอ่อน มีสารออกฤทธิ์คล้ายเทสโตสเตอโรนที่สร้างจากต่อมอัณฑะ มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ช่วยการทำงานของหัวใจ ทำให้แผลหายเร็ว แพทย์จีนเองก็ต้องมีวิธีการใช้ยาให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด ในทางปฏิบัติแม้ว่าตัวยาจะมีสารออกฤทธิ์เด่นตัวเดียว แต่เวลาใช้ในผู้ป่วยมักจะต้องใช้สมุนไพรตัวอื่นประกอบกันเป็นตำรับยา เพื่อเสริมฤทธิ์ ลดผลข้างเคียงทำลายพิษ เพื่อผลการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละรายหรือย่างกระบวนการเตรียมยาสมุนไพรจีนเพื่อการใช้ ยังมีวิธีการทำลายพิษ ลดพิษของยาสมุนไพร หรือทำให้ฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ลดลง เสริมฤทธิ์ที่ต้องการ มีการเตรียมยาเพื่อให้ยาเข้าสู่เป้าหมายที่ต้องการ อาหารและพืชโดยธรรมชาติจำนวนมากก็มีสารโครงสร้างคล้ายสเตียรอยด์อยู่แล้ว แต่การกินในชีวิตประจำวันไม่เกิดปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ข้าวเจ้า ก็พบว่ามีสารคล้ายสเตียรอยด์ ถ้าต้องการให้ออกฤทธิ์เหมือนสเตียรอยด์ต้องสกัดเฉพาะ และใช้จำนวนมหาศาลซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้หมอขอแนะนำว่าไม่ว่าอะไรที่มากเกินไปมักจะส่งผลไม่ดีต่อร่างกายเสมอ ต่อให้ยาอะไรที่ใครว่าบำรุงร่างกายดีมากเท่าไหร่หากเรารับในปริมาณมากเกินไปก็จะเกิดผลเสียตามมาได้ทั้งนั้น

เบื่อแล้วทานยาอยากนอนหลับได้เอง 
เบื่อแล้วทานยาอยากนอนหลับได้เอง 

เบื่อแล้วทานยาอยากนอนหลับได้เอง หากคุณนอนไม่หลับแล้วใช้ยานอนหลับเป็นตัวช่วยคุณจะได้ของแถมตามมาดังนี้ ⁃ ตื่นมาไม่สดชื่น ⁃ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ⁃ คลื่นไส้ อาเจียน (ในบางราย) ⁃ ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง เมื่ออยู่ภายใต้ฤทธิ์ของยา ⁃ เสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ ⁃ ยานอนหลับบางชนิดมีผลต่อเพศชาย โดยอาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้

นอนไม่หลับ ฝังเข็มช่วยได้
นอนไม่หลับ ฝังเข็มช่วยได้

นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆฝังเข็มช่วยได้ ในปัจจุบันโรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานและผู้สูง อายุ ซึ่งอาการของโรคนอนไม่หลับ คือไม่สามารถนอนหลับได้เป็นปกติ ระยะเวลาในการนอนหลับ น้อยกว่าปกติ (โดยทั่วไปน้อยกว่า 4-6 ชั่วโมง) มีอาการหลับยาก (ใช้เวลาเข้านอนนานเกินกว่า 30 นาที) หลับแล้วตื่นง่าย หรือหลับๆ ตื่นๆ ฝันมาก ตื่นขึ้นมาแล้วหลับยาก (ตื่นกลางดึกมากกว่า 2 ครั้ง หรือ ตื่นก่อนฟ้าสางแล้วนอนต่อไม่ได้) โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะช่วงเวลาของการนอนไม่หลับ 1.Initial insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยากใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับภาวะดังกล่าว อาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล 2.Maintinance insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยภาวะ ดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น 3.Terminal insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึม เศร้า นอกจากนี้ถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคจะแบ่งได้สองกลุ่มคือ - Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักเป็นฉับพลันตามหลัง สถานการณ์ เช่นความเครียด, การเจ็บป่วย, ปัญหาวิตกกังวล, สถานที่นอนหรือสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยเมื่อปัจจัยที่กล่าวไปหายไปอาการนอนไม่หลับก็มักกลับมาปกติ - Chronic insomnia (โรคการนอนไม่หลับเรื้อรัง) ผู้ป่วยจะมีภาวะนอนไม่หลับอย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์และเป็นมาอย่างน้อย 3 เดือน นอกจากนี้ปัญหาการนอนไม่หลับอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความทรงจำ (Memory Problems) ภาวะซึมเศร้า (Depression) อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย (Irritability) ภูมิคุ้มกันต่ำ อีกทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยง ในการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย การรักษาโรคนอนไม่หลับ มีแนวทางในการรักษา 2 วิธี ได้แก่ การดูแลรักษาโดยแพทย์หรือการใช้ยา และการดูแลรักษาโดยไม่ ต้องใช้ยา 1. การรักษาโดยการใช้ยาทางแผนปัจจุบัน จะสั่งยาโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน หรือยารักษาอาการทางจิต ช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท แม้ยานอนหลับจะช่วยให้เรานอนหลับง่ายขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายานอนหลับมีผลข้างเคียงที่ไม่พึง ประสงค์อยู่มากเช่นกัน และถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จึงทำผู้ป่วยต้องใช้ยาต่อเนื่อง 2.การรักษาโดยแพทย์ทางเลือก แพทย์แผนจีนกับการฝังเข็มโรคนอนไม่หลับเป็นเป็นการนำเอาศาสตร์โบราณของชาวจีนมาผสานเข้า กับความรู้ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยมีผลทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยรองรับและ เป็นที่ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ว่าการฝังเข็มจะช่วย ให้อาการป่วย หรือโรคที่เป็นอยู่จะค่อยๆ ดีขึ้น เนื่องจากโรคนอนไม่หลับมีอาการและสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป การรักษาทางแพทย์แผนจีนนั้นจะ รักษาตามอาการแต่ละบุคคล เป็นการปรับสมดุลฮอร์โมนและสารสื่อประสาทต่างๆในร่างกายให้กลับ เข้าสู่สมดุล ซึ่งสมดุลในร่างกายแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไปจึงเป็นเสน่ห์ของแพทย์แผนจีนที่เรา จะรักษาถึงแก่นแท้ของปัญหา ไม่ใช่แค่การแก้ไขที่ปลายเหตุ จึงเป็นการรักษาที่ยั่งยืนและ ปลอดภัย ในส่วนการรักษาด้วยการฝังเข็มจะเลือกจุดที่สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยที่นอนไม่หลับ หลัง จากฝังเข็มคาเข็มไว้ 20-40 นาที หลังจากนั้นจึงถอนเข็ม ให้ผู้ป่วยทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ ละ 2-3 ครั้ง ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะของโรคนอนไม่หลับ นอกจากนั้นแล้วเรายังเราต้องประเมินคนไข้ด้วยว่ามีความเครียดสะสมหรือเปล่า เนื่องจาก ความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อยึด หด เกร็ง โดยเฉพาะการเกร็งบริเวณช่วงอก ทั้งจากความเครียด และชีวิตประจำวันที่ทำงานในท่าเดิมๆ หรือออกกำลังกายมากเกินไป หากเจอคนไข้ที่หายใจสั้น จะฝัง เข็มบริเวณอกเพื่อขยายช่วงนั้น ทำให้หายใจสะดวกและลึกขึ้นได้อีกด้วย นอกจากการฝังเข็มรักษา แล้วยังมียาจีนที่ให้ผลการรักษาโรคนอนไม่หลับได้ดีเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วแพทย์แผนจีนจะแนะนำให้ รักษาคู่กันทั้งการทานยาและฝังเข็มเพื่อประสิทธิภาพที่เร็วขึ้น โดยการทานยาจีนนั้นต้องได้รับการการ วินิจฉัยโรคจากทางแพทย์แผนจีนก่อน เนื่องจากตำหรับยาของแต่ละบุคคลนั้นก็จะแตกต่างกันไปอีก ด้วย