เช็ค 5 ใน 9 สัญญาณเตือน

03/10/2022
เช็ค 5 ใน 9 สัญญาณเตือน

เช็ค 5 ใน 9 สัญญาณเตือน "โรคซึมเศร้า"

1.มีอารมณ์ซึมเศร้า

2.ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก

3.น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้นมาก เบื่ออาหาร หรือ เจริญอาหารมาก

4.นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป

5.กระวนกระายอยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง

6.อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง

7.รู้สึกตนเองไร้ค่า

8.สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด

9.คิดเรื่องการตาย หรือคิดอยากตาย

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า หากพบอาการ 5 ข้อ หรือมากกว่า เป็นอยู่อยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีอาการตลอดเวลา แทบทุกวัน หมายถึงมีภาวะซึมเศร้า ควรได้รับบริการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา สามารถปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

การรักษา "โรคซึมเศร้า" 

1. การรักษาด้วยจิตบำบัด เป็นวิธีการรักษาซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของทฤษฎีทางจิตวิทยา เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีในการลดอาการซึมเศร้าวิธีหนึ่ง การทำจิตบำบัดมีหลายรูปแบบ ได้แก่ จิตบำบัดแบบประคับประคอง จิตบำบัดแบบมุ่งเน้นการปรับความคิดความเข้าใจ จิตบำบัดแบบพฤติกรรมบำบัด ทั้งนี้ ผู้บำบัดจะพิจารณารูปแบบของการบำบัดตามความเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย

 2.การรักษาแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนจีน

การรักษาซึมเศร้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง เน้นการรักษาแบบองค์รวม หาสาเหตุของการเกิดโรคเพื่อรักษาที่ต้นเหตุ ฟื้นฟูอวัยวะให้แข็งแรงและรักษารอยโรคให้ค่อยๆ ดีขึ้นจนสามารถหายได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้วิธีการรักษาจะให้การฝังเข็มควบคู่กับการทานยาสมุนไพรจีนเป็นหลัก ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับแพทย์แผนจีนเป็นผู้ประเมิน

3. การรักษาด้วย dTMS สมองของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการปล่อยและรับสารเคมีที่ผิดไปจากปกติ การรักษาด้วย dTMS (deep Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมองในตำแหน่งที่ต้องการ คล้ายการออกฤทธิ์ของยา เหนี่ยวนำให้การปล่อยประจุไฟฟ้าเข้าไปปรับสมดุลทุกส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่กระตุ้น ช่วยให้สารเคมีในสมองกลับมาทำงานเป็นปกติ

4. การรักษาด้วยการใช้ยา ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน

การใช้ยาเคมีรักษาอาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ดังนี้ คอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก มึนงง ตาพร่า หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ ง่วงนอน ซึ่งการกินยาไม่ใช่จะดีขึ้นทันทีที่กิน แต่ต้องมาพบจิตแพทย์เพื่อประเมินผลการรักษา เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น อาจต้องกินยาต่อเนื่องอีก 4-6 เดือน แล้วจึงค่อยลดขนาดยาลงจนหยุดยาได้ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคซึมเศร้า
1. อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน การปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป หรือรับผิดชอบมากเกินไป

2. แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมทั้งจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำเท่าที่สามารถทำได้

3. อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง

4. พยายามทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับบุคคลอื่นดีกว่าอยู่เพียงลำพัง

5. เลือกทำกิจกรรมที่สร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น หรือเพลิดเพลินและไม่หนักเกินไป เช่น การชมภาพยนตร์ การออกกำลังกายเบาๆ การร่วมทำกิจกรรมทางสังคม

6. อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออกจากงาน การแต่งงาน หรือการหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่รู้จักผู้ป่วยดี และต้องเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาเหตุการณ์นั้นอย่างเที่ยงตรง มีความเป็นกลาง และปราศจากอคติที่เกิดจากอารมณ์มาบดบัง ถ้าเป็นไปได้และที่ดีที่สุดคือ เลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าภาวะโรคซึมเศร้าจะหายไปหรือดีขึ้นมากแล้ว

7. ไม่ควรตำหนิหรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ เพราะไม่ใช่ความผิดของผู้ป่วย ควรทำเท่าที่ตนเองทำได้

8. อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะซึมเศร้าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเอง เพราะโดยแท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของโรคหรือความเจ็บป่วย และสามารถหายไปได้เมื่อรักษา

9. ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลายเป็นคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นก็อาจมีบุคคลรอบตัวๆ ที่ไม่เข้าใจในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย และอาจสนองตอบในทางตรงกันข้ามกลายเป็นการซ้ำเติมโดยไม่ได้ตั้งใจ

 


GUITANG 龟堂
CHINESE MEDICINE & WELLNESS CLINIC
.
เพียบพร้อมด้วยบุคคลากรทางการแพทย์
แพทย์จีนปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
เปิดให้บริการรักษาด้านการแพทย์แผนจีนอย่างเต็มรูปแบบ
.
สาขาพระราม3
โทรศัพท์ : 061-9261415
เปิดบริการทุกวัน 11.00-19.00 หยุดทุกวันพุธ
LINE@: https://page.line.me/239icbzc
.
สาขาสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : 062-6322891​
เปิดบริการทุกวัน 09.30-18.30 หยุดทุกวันอังคาร
LINE@: https://lin.ee/D8SkDwv
.
Facebook: https://www.facebook.com/guitang.tcmwellness
เว็บไซต์ : www.guitangwellness.com