Dry needling บอกลาทุกอาการปวด

06/07/2024
Dry needling บอกลาทุกอาการปวด

Dry needling บอกลาทุกอาการปวด

        ในปี ..1940 แพทย์หญิงชาวอเมริกาที่ชื่อว่า Janet Travell พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมักจะมีปมกล้ามเนื้อที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ที่ตำแหน่งเดิม จนเกิดภาวะ Energy crisis ของกล้ามเนื้อ คือ เกิดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องทำให้กล้ามเนื้อไม่คลายตัว เมื่อกดแล้วจะรู้สึกปวดบริเวณที่กดอย่างชัดเจน บางรายอาจมีอาการปวดตึง ชาร้าวไปยังบริเวณอื่น เช่น ศีรษะ สะบัก แขน ขา เอว สะโพก โดยเรียกปมกล้ามเนื้อบริเวณนั้นว่า จุดกดเจ็บ (Myofascial trigger points)

        อาการปวดเมื่อยจากจุดกดเจ็บอาจไม่แสดงอาการออกมาทันที ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยเพียเล็กน้อยหรือไม่มีอาการปวดเลย จนกระทั่งมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามากระตุ้นทำให้เกิดอาการปวด เช่น กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บหรือมีการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมเพื่อทำท่าทางเดิมซ้ำ ๆ  ภูมิคุ้มกันลดลงจากอาการป่วย พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น เมื่อใช้เข็มแทงเข้าไปยังจุดกดเจ็บ ผู้ป่วยจะรู้สึกตึงหน่วงร้าว บางครั้งมักมีโอกาสที่กล้ามเนื้อจะเกิดการกระตุกบริเวณที่ฝังเข็มได้ถือเป็นอาการปกติ เรียกวิธีรักษานี้ว่า ฝังเข็มแบบตะวันตก หรือ Dry needling ซึ่งสามารถรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี การฝังเข็มรักษารูปแบบนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

 

Dry needling รักษาอย่างไร

        Dry needling มีวิธีการรักษาที่แตกต่างจากการฝังเข็มของแพทย์แผนจีน แพทย์จะใช้เข็มแทงไปยังบริเวณปมกล้ามเนื้อจุดกดเจ็บของผู้ป่วย โดยจะมีวิธีการรักษาคือ การคลำหาจุดกดเจ็บบนกล้ามเนื้อก่อน จากนั้นจะใช้วิธีการแทงเข็มลงบนปมมัดกล้ามเนื้อแบบ รีบเข้า รีบออก เมื่อกล้ามเนื้อกระตุกคลายตัวให้ดึงเข็มออกทันทีไม่ฝังเข็มค้างไว้บนร่างกายผู้ป่วย เมื่อฝังเข็มแล้วกล้ามเนื้อกระตุกเยอะ หมายถึง ปมกล้ามเนื้อเกิดการคลายตัวลงหลายปม เพราะฉะนั้นการฝังเข็มแล้วกล้ามเนื้อเกิดการกระตุกจึงเป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกได้ว่าได้รับผลการรักษาที่ดี  

        อย่างไรก็ตามหลังจากการฝังเข็มแบบ Dry needling กล้ามเนื้ออาจเกิดการอักเสบ หรือระบมได้ถือเป็นเรื่องปกติ การรักษาควรถูกปฏิบัติโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น การฝังเข็ม Dry needling เป็นวิธีรักษาที่ง่าย รวดเร็ว  ไม่ใช้ยาหรือสารเคมีเป็นส่วนประกอบการในการรักษาและให้ผลการรักษาชัดเจนตังแต่ครั้งแรกจึงเป็นวิธีรักษาที่นำไปใช้บ่อยในกลุ่มนักกีฬา คนทั่วไปที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ต้องการใช้ยาในการรักษา

                                  

Dry needling และ ฝังเข็มแพทย์แผนจีน แตกต่างกันอย่างไร

    ปัจจุบันฝังเข็มจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) และฝังเข็มแบบตะวันออก (ฝังเข็มแบบแพทย์แผนจีน) ซึ่งการฝังเข็มทั้ง 2 ประเภทนี้มีวิธีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันดังนี้

Dry needling

    การฝังเข็มตามปมกล้ามเนื้อจุดกดเจ็บ (Trigger points) สามารถรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี เห็นผลการรักษาชัดเจนหลังจากครั้งแรกที่ฝังเข็ม เช่น กลุ่มโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ปวดกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลัน ออฟฟิศซินโดรม ปวดตึงคอร้าวถึงศีรษะ,ขมับ,เบ้าตา ปวดตาข้อต่างๆ หรือ รองช้ำ เป็นต้น

ฝังเข็มแบบแพทย์แผนจีน

    การฝังเข็มแบบแพทย์แผนจีนจะเป็นการฝังเข็มบริเวณจุดฝังเข็มตามเส้นลมปราณทั่วร่างกาย สามารถกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะภายใน รักษาได้ทั้งกลุ่มโรคอาการปวดเมื่อยและโรคอายุรกรรมทั่วไป เช่น ออฟฟิศซินโดรม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ ไมเกรน โรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน โรคนอนไม่หลับ ประจำเดือนมาผิดปกติ โรคทางอารมณ์ ซึมเศร้า แพนิก เป็นต้น

 

 

Dry needling ข้อควรรู้ก่อนรักษา

        Dry needling เป็นวิธีรักษาที่ปลอดภัย ใช้รักษาอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ก็มีข้อควรระวังและผลข้างเคียงหลังการรักษาเช่นเดียวกัน หลังจากฝังเข็ม Dry neeedling จะมีอาการเจ็บ ตึงหน่วง ระบม มีรอยฟกช้ำบริเวณที่ฝังเข็ม โดยอาการเหล่านี้จะดีขึ้นภายในระยะเวลา 1-4 วัน สามารถประคบร้อน ทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการระบมเข็มได้ สำหรับคนที่มีอาการกลัวเข็มมีโอกาส วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกได้  หากพบว่ามีอาการควรรีบแจ้งแพทย์โดยทันที 

        Dry needling ต้องรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอาการกลัวเข็มรุนแรง มีสภาวะเลือดออกง่าย เลือดไม่แข็งตัว เป็นโรคหัวใจ สตรีมีครรภ์  หรือเป็นโรคอื่นๆที่การฝังเข็มไม่สามารถบรรเทาอาการได้ สภาวะร่างกายเหล่านี้ไม่เหมาะสมสำหรับ dry needling ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการรักษาทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและได้รับผลการรักษาอย่างดีที่สุด

.

GUITANG 龟堂

CHINESE MEDICINE & WELLNESS CLINIC

.

เพียบพร้อมด้วยบุคคลากรทางการแพทย์

แพทย์จีนปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

เปิดให้บริการรักษาด้านการแพทย์แผนจีนอย่างเต็มรูปแบบ

.

สาขาพระราม3

โทรศัพท์ : 061-9261415

เปิดบริการทุกวัน 11.00-19.00 หยุดทุกวันพุธ

LINE@: https://page.line.me/239icbzc

.

สาขาสุราษฎร์ธานี

โทรศัพท์ : 062-6322891​

เปิดบริการทุกวัน 09.30-18.30 หยุดทุกวันอังคาร

LINE@: https://lin.ee/D8SkDwv

.

Facebook: https://www.facebook.com/guitang.tcmwellness

เว็บไซต์ : www.guitangwellness.com