โรคสมาธิสั้น (ADHD)

18/06/2024
โรคสมาธิสั้น (ADHD)

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD)

        โรคสมาธิสั้น (ADHD) เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากแต่คาดว่าเกิดจากระดับสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมาธิไม่สมดุล ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี แม้ว่าเด็กจะพยายามควบคุมตนเองแล้วก็ตาม หลักฐานงานวิจัยของสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า สาเหตุหรือปัจจัยหลักมาจากพันธุกรรม นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมก็มีผลกระตุ้นทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ รวมถึงผลจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก

 

Attention Deficit Hyperactivity Disorder; ADHD ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการ คือ

สมาธิสั้น (Inattention)

* ยากลำบากในการตั้งสมาธิ วอกแวกง่าย

* ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย

* ทำตามคำสั่ง/กิจกรรมไม่สำเร็จ

* หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม

* ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ

* มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม

* ทำของหายบ่อยๆ

* ลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ

ซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)

* ยุกยิกขยับตัวไปมา อยู่นิ่งไม่ได้

* ซนมากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

* นั่งไม่ติดที่ ต้องลุกเดินไปมา

* มักวิ่งวุ่นหรือปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม

* ไม่สามารถเล่นเงียบๆ ได้

* พูดมากเกินไป

หุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)

* ไม่สามารถรอคอยได้

* ชอบพูดโพล่ง ขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่นในวงสนทนา

        โรคสมาธิสั้น (ADHD)กับการวินิจฉัยโรคตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน เกิดจากการเสียสมดุลอินหยางและของอวัยวะตัน คือ ตับ หัวใจ และไต กล่าวคือ ตับ เป็นอวัยวะที่ช่วยในการระบาย ขับเคลื่อนชี่และเลือดในร่างกาย เมื่อสูญเสียหน้าที่การระบาย ทำให้เกิดภาวะไฟตับลอยขึ้นสูงไปกระทบอวัยวะลูก คือ หัวใจ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมภาวะจิตใจและอารมณ์ จากหลักที่กล่าวว่า แม่ป่วยกระทบลูก นอกจากนี้ ไต ถือเป็นอวัยวะที่ควบคุมสารจำเป็นก่อนกำเนิดที่ได้รับจากบิดา มารดา มีส่วนช่วยผลิตน้ำไขกระดูกสันหลัง บำรุงสมองและสารสื่อประสาท หากเกิดภาวะพร่องตัวจะส่งผลให้เกิดอาการแสดงทางกายภาพของโรคสมาธิสั้นออกมา

        การรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD)ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน จะเน้นวิธีการระบายไฟตับ สงบเสิน(อารมณ์และจิตใจ) บำรุงไตและสมองเป็นหลักทั้งทางด้านการรับประทานยาจีน และฝังเข็ม ส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมหรือภาระงานของตนเองมากขึ้น อยู่นิ่งไม่ว่อกแว่ก ซึ่งควรได้รับการรักษาควบคู่กันภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่อง จึงจะเห็นผลดี

 

วิธีการรับมือเด็กสมาธิสั้น

* ปรับพฤติกรรม ค่อยๆ ฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอย การอดทน

* การให้คำชม ให้รางวัล เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

* จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีสิ่งกระตุ้นมากเกินไป สถานที่เรียนต้องค่อนข้างสงบ ไม่สับสนวุ่นวาย

* คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค เพื่อรับมือดูแลอย่างเหมาะสม

* หมั่นทำกิจกรรมกับสิ่งที่ลูกชอบบ่อยๆ สม่ำเสมอ

* การรักษาโดยการใช้ยา ช่วยให้เด็กมีสมาธิ ควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น

* ฝึกฝนการมีวินัยให้กับเด็ก มีระเบียบกำหนดกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน

.

GUITANG 龟堂

CHINESE MEDICINE & WELLNESS CLINIC

.

เพียบพร้อมด้วยบุคคลากรทางการแพทย์

แพทย์จีนปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

เปิดให้บริการรักษาด้านการแพทย์แผนจีนอย่างเต็มรูปแบบ

.

สาขาพระราม3

โทรศัพท์ : 061-9261415

เปิดบริการทุกวัน 11.00-19.00 หยุดทุกวันพุธ

LINE@: https://page.line.me/239icbzc

.

สาขาสุราษฎร์ธานี

โทรศัพท์ : 062-6322891​

เปิดบริการทุกวัน 09.30-18.30 หยุดทุกวันอังคาร

LINE@: https://lin.ee/D8SkDwv

.

Facebook: https://www.facebook.com/guitang.tcmwellness

เว็บไซต์ : www.guitangwellness.com