PMS สัญญาณเตือนมนุษย์เมนส์

21/05/2024
PMS สัญญาณเตือนมนุษย์เมนส์

PMS สัญญาณเตือนมนุษย์เมนส์

               PMS หรือ Premenstrual Syndrome คือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่มักประสบกับปัญหานี้ อาการที่สังเกตได้คือ การรู้สึกเหมือนว่าตัวเองป่วย มีไข้ ไม่สบายตัว มีอารมณ์หงุดหงิด เหวี่ยงวีนง่ายกว่าปกติ มักพบช่วงก่อนมีประจำเดือนประมาณ 5-11 วัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะเริ่มดีขึ้นและหายได้เองหลังประจำเดือนมาแล้ว 4-7 วัน ในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ มีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างไข่ตกในแต่ละรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยอาการPMSจะหายไปในช่วงที่ไม่มีการตกไข่ เช่น ขณะตั้งครรภ์หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อีกปัจจัยหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง เมื่อระดับฮอร์โมนเซโรโทนิน (serotonin) ลดต่ำลง จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ ซึ่งอาการ PMS นี้ เป็นตัวการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ

ร่างกายของผู้หญิงจะแสดงอาการ PMS มากหรือน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ซึ่งร่างกายจะส่งสัญญาณของกลุ่มอาการ PMS ออกมา โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มอาการทางจิตใจและอารมณ์ 

-มีอาการหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย

-มีความตึงเครียดและไม่มีสมาธิ

-มีอารมณ์แปรปรวน เป็นกังวลหรือซึมเศร้า

-มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)

-มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ (Insomnia)

กลุ่มอาการทางร่างกาย 

-มีอาการเจ็บและคัดตึงเต้านม

-น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

-มีความอยากอาหารตลอดเวลา

-ตัวบวม ท้องอืด

-อ่อนแรง เหนื่อยง่าย

-ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้อง

-ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ

-มีสิวขึ้น

        ช่วงก่อนมีประจำเดือนเราสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดหรือหวานจัด ปรับสภาพอารมณ์ให้คงที่ไม่เครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป นอนหลับให้เพียงพอ งดการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ และชา เป็นต้น

 

Premenstrual Syndrome กับการดูแลรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

          ในมุมมองการแพทย์แผนจีนพบว่า สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน คือ เลือดและชี่ไปหล่อเลี้ยงเส้นลมปราณชงและเริ่นไม่เพียงพอ เมื่อไม่เกิดการเติมเต็มในเส้นลมปราณ เกิดภาวะเส้นลมปราณชงเริ่นเสียสมดุลการไหลเวียน ส่งผลให้อินหยางชี่และเลือดเดี๋ยวพร่องเดี๋ยวแกร่งสลับกันไม่แน่นอน แสดงกลุ่มอาการต่าง ๆ ออกมา ดังนั้นการดูแลรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน สามารถทำได้โดยใช้วิธีการฝังเข็ม รมยา หรือทานยาจีน ช่วยเสริมบำรุงเลือดและชี่ไปหล่อเลี้ยงเส้นลมปราณชงและเริ่นให้เพียงพอ ส่งเสริมการหลั่งฮอร์โมนให้อยู่ในสมดุล ร่วมกับการบำรุงไตอิน ระบายไฟตับ ซึ่งควรรักษาก่อนประจำเดือนมาประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อการเห็นผลที่ชัดเจน

.

 

GUITANG 龟堂

CHINESE MEDICINE & WELLNESS CLINIC

.

เพียบพร้อมด้วยบุคคลากรทางการแพทย์

แพทย์จีนปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

เปิดให้บริการรักษาด้านการแพทย์แผนจีนอย่างเต็มรูปแบบ

.

สาขาพระราม3

โทรศัพท์ : 061-9261415

เปิดบริการทุกวัน 11.00-19.00 หยุดทุกวันพุธ

LINE@: https://page.line.me/239icbzc

.

สาขาสุราษฎร์ธานี

โทรศัพท์ : 062-6322891​

เปิดบริการทุกวัน 09.30-18.30 หยุดทุกวันอังคาร

LINE@: https://lin.ee/D8SkDwv

.

Facebook: https://www.facebook.com/guitang.tcmwellness

เว็บไซต์ : www.guitangwellness.com