กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Weakness)

23/04/2024
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Weakness)

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Weakness)

           กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Weakness) เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย โดยมักจะเริ่มจากมือ เท้า แขนหรือขาแล้วค่อย ๆ พัฒนาโรคไปส่วนต่าง ๆ บุคคลโดยทั่วไปเข้าใจว่าเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อ แต่ความจริงแล้วเป็นความผิดปกติจากการทำงานของระบบประสาทสั่งการส่วนกลางหรือส่วนปลาย โดยปกติเมื่อกล้ามเนื้อลายหดตัวจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายจะหดตัวได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากสมองเกิดการส่งสัญญาณผ่านไขสันหลังและเส้นประสาทสู่กล้ามเนื้อทำให้เกิดการแสดงท่าทางต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเซลล์ประสาทในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสื่อมหรือถูกทำลายจะส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง นอกจากนี้ยังมีหลากหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนี้ ระบบประสาทการสั่งการกล้ามเนื้อ เช่น Muscular dystrophies, Multiple sclerosis (MS), Amyotrophic lateral sclerosis (ALS) ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เช่น Graves’ disease, Myasthenia gravis(MG), Guillian-Barre syndrome ความผิดปกติจากต่อมไทรอยด์ เช่น Hypothyroidism, Hyperthyroidism การเสียสมดุลของแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกายที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น การขาดโพแทสเซียมและแมกนีเซียม หรือมีแคลเซียมมากเกินไป ภาวะจากโรคอื่น ๆ เช่น เส้นเลือดในสมองแตก หมอนรองกระดูกทับเส้น อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง พิษสุราเรื้อรัง การติดเชื้อ เช่น รูมาตอย โปลิโอ หรือการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น Statins, Antiarrhymic drugs, Colchicine

 

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

✔️กล้ามเนื้อแขนหรือขาไม่มีแรงข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นกล้ามเนื้อลีบตัวลง

✔️รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ บางรายอาจเกิดอาการกระตุก ทำให้ไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้

✔️ลิ้นอาจมีอาการแข็งเกร็ง บางรายอาจมีอาการหนักจนไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้

✔️ไม่สามารถควบคุมกระบังลมได้จึงทำให้หายใจไม่สะดวก

✔️บางโรคอาจพบอาการหนังตาตก เช่น Myasthenia gravis(MG)

 

การแพทย์แผนจีนช่วยรักษาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้อย่างไร

           การรักษาทางการแพทย์แผนจีนเน้นการรักษาแบบองค์รวม ดูความสมดุลของอวัยวะทั้ง 5 ว่าอวัยวะใดเสียสมดุลไป ในการรักษากล้ามเนื้ออ่อนแรงจะใช้หลักการการบำรุงม้ามเป็นหลัก เนื่องจาก ม้ามตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีนเป็นอวัยวะที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างเลือดและชี่ซึ่งเปรียบเสมือนสารอาหารและพลังงานไปหล่อเลี้ยงอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยดึงรั้งชี่ให้ลอยตัวขึ้นสูง เพื่อพยุงการอวัยวะต่าง ๆ ให้คงตำแหน่ง ไม่หย่อนคล้อย และอาศัยการวินิจฉัยโรคแยกกลุ่มอาการร่วมด้วยเพื่อรักษาตามอาการที่แสดงออก เช่น กลุ่มอาการตับและไตพร่อง จะใช้ตำรับยาหู่เฉียนว่าน 虎潜丸เพื่อบำรุงเสริมพลังงานตับและไตให้แข็งแรง ระบายความร้อนและบำรุงอินตับและไต กลุ่มอาการเลือดติดขัดเส้นลมปราณอุดกลั้น จะใช้ตำรับยาปู่หยางหวนอู่ทัง 补阳还五汤 เพื่อบำรุงเสริมพลังงานและการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น

           นอกจากการรักษาด้วยการทานยาสมุนไพรจีนปรับสมดุลแล้วการฝังเข็มยังร่วมกันจะส่งเสริมให้ผลการรักษาเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากการฝังเข็มจะเข้าไปกระตุ้นการส่งสัญญาณกระแสประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ ให้เกิดการรับรู้ความรู้สึกและตอบสนองได้ดีขึ้น

 

.

GUITANG 龟堂

CHINESE MEDICINE & WELLNESS CLINIC

.

เพียบพร้อมด้วยบุคคลากรทางการแพทย์

แพทย์จีนปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

เปิดให้บริการรักษาด้านการแพทย์แผนจีนอย่างเต็มรูปแบบ

.

สาขาพระราม3

โทรศัพท์ : 061-9261415

เปิดบริการทุกวัน 11.00-19.00 หยุดทุกวันพุธ

LINE@: https://page.line.me/239icbzc

.

สาขาสุราษฎร์ธานี

โทรศัพท์ : 062-6322891​

เปิดบริการทุกวัน 09.30-18.30 หยุดทุกวันอังคาร

LINE@: https://lin.ee/D8SkDwv

.

Facebook: https://www.facebook.com/guitang.tcmwellness

เว็บไซต์ : www.guitangwellness.com