โรคกระเพาะอาหารอย่าปล่อยให้ทำร้ายตัวเรา

09/04/2024
โรคกระเพาะอาหารอย่าปล่อยให้ทำร้ายตัวเรา

โรคกระเพาะอาหารอย่าปล่อยให้ทำร้ายตัวเรา

           สาเหตุของโรคแผลกระเพาะอาหาร มักมาจากพฤติกรรมการทานอาหาร และการใช้ชีวิต แต่ในทางการแพทย์แผนจีน เชื่อว่ามีสาเหตุก่อโรคมาจากของเสียภายนอก อาหารไม่ย่อยสะสม และสภาพจิตใจที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ความเครียดสะสมจะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดที่มากกว่าปกติ มีอาการสำคัญ คือ ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ หน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่า หรือเวลาหิว มักจะเป็นๆหายๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ในคนไข้บางรายมักปรากฎภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้

1. เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หรือหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม

2. กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็ง กดเจ็บมาก

3. กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว มีอาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง

 

หลักการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร

           โรคแผลกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มักไม่หายขาด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน เมื่อหายแล้ว จะกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ได้แก่

- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย

- กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ

- กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ

- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด สุรา

- งดสูบบุหรี่

- งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด

- ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ

- กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์

- ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์

 

           การรักษาทางแพทย์แผนจีน จะใช้หลักการรักษาอาการแสดงก่อนเพื่อระงับอาการปวดซึ่งเป็นอาการเร่งด่วนร่วมกับหาสาเหตุของการเจ็บป่วยเพื่อรักษาถึงต้นตอการเจ็บป่วยต่อไป ไม่ให้เกิดอาการแสดงขึ้นมาอีก สามารถใช้วิธีการทานยาสมุนไพรจีน การฝังเข็มรักษาโรค การนวดกดจุดด้วยตนเอง การทานอาหารบำรุงร่างกาย การปรับสมดุลสภาพจิตใจ และอื่นๆ

 

3 จุด ป้องกันโรคแผลในกระเพาะอาหาร

- จู๋ซานลี่ : อยู่ใต้กระดูกหัวเข่า 3 นิ้ว ห่างจากกระดูกหน้าแข้ง 1 นิ้ว

- เน่ยกวน : สามารถวัดได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง โดยใช้สามนิ้ววางจากของแถบข้อมือดังภาพ ซึ่งจุดที่ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลาง

- จงหว่าน : อยู่บนแนวกึ่งกลางลำตัวด้านหน้า เหนือสะดือ 4นิ้ว

นวดเบาๆ ทิศทางตามเข็มนาฬิกา 3-5 นาที ทุกวัน วันละ 1 ครั้งเป็นประจำ

 

หน้าร้อนแบบนี้ ทานอะไรถึงจะดีต่อกระเพาะอาหาร?

           การเลือกทานอาหารที่เหมาะกับช่วงฤดูร้อน ควรจะเป็นอาหารรสชาติอ่อน มีฤทธิ์ขม เย็น ช่วยในการบำรุงร่างกาย ง่ายต่อการย่อยอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ด หวาน มัน ทอด หรืออาหารประเภทไขมันสูง ที่จะเข้าไปทำร้ายม้าม ขัดขวางระบบการย่อยอาหาร ในขณะเดียวกันปริมาณอาหารควรจะพอดี ไม่ทานให้อิ่มเกินไปหรือน้อยเกินไป

 

           ฤดูร้อนมักจะพบอุณหภูมิความร้อนสูง ความชื้นมาก การทานอาหารรสขม จะช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี บำรุงม้าม ระบบย่อยอาหารและช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้ดีอีกด้วย เช่น แตงกวา มะเขือเทศ ถั่วลิสง หัวไชท้าว เป็นต้น

 

           ในวันที่อากาศร้อนแล้วจำเป็นต้องออกไปข้างนอกจริงๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจจะทำให้ร่างกายเกิดการเสียเหงื่อมากกว่าปกติ ให้ทานอาหารรสชาติเปรี้ยวสักหน่อย เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซับสารน้ำไม่ให้สูญเสียมากเกินไป ร่างกายจะได้ไม่เกิดภาวะขาดน้ำ

 

           การเลือกทานอาหารให้ตรงกับสภาพแวดล้อม สามารถป้องกันโรคหรืออาการที่จะเกิดได้เช่นกัน อย่าลืมให้ความสนใจกับการทานอาหารด้วยนะคะ

 

.

GUITANG 龟堂

CHINESE MEDICINE & WELLNESS CLINIC

.

เพียบพร้อมด้วยบุคคลากรทางการแพทย์

แพทย์จีนปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

เปิดให้บริการรักษาด้านการแพทย์แผนจีนอย่างเต็มรูปแบบ

.

สาขาพระราม3

โทรศัพท์ : 061-9261415

เปิดบริการทุกวัน 11.00-19.00 หยุดทุกวันพุธ

LINE@: https://page.line.me/239icbzc

.

สาขาสุราษฎร์ธานี

โทรศัพท์ : 062-6322891​

เปิดบริการทุกวัน 09.30-18.30 หยุดทุกวันอังคาร

LINE@: https://lin.ee/D8SkDwv

.

Facebook: https://www.facebook.com/guitang.tcmwellness

เว็บไซต์ : www.guitangwellness.com